สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 28 ธันวาคม 2561 - 3 มกราคม 2562

 

ข้าว
 
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข.เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0909
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          ไทย
          สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเผยส่งออกข้าว 11 เดือน มีปริมาณ 10,077,219 ตัน มูลค่า 163,130 ล้านบาท พร้อมคาดการณ์เดือนธันวาคมจะมีการส่งออกข้าวได้ที่ระดับ 1 ล้านตัน
          ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวไทย ปี 2561 ในช่วง 11 เดือน (มกราคม-พฤศจิกายน) มีปริมาณ 10,077,219 ตัน มูลค่า 163,130 ล้าน บาท หรือคิดเป็น 5,095 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 4.2 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 ที่มีการส่งออกปริมาณ 10,518,112 ตัน มูลค่า 157,264 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4,637 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การส่งออกข้าวในเดือนพฤศจิกายนมีปริมาณ 1,028,115 ตัน มูลค่า 17,100 ล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 และร้อยละ 13.7 ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน มีการส่งออกข้าวนึ่งปริมาณ 338,258 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปตลาดประจำ เช่น เบนิน แอฟริกาใต้ เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวหอมมะลิมีปริมาณ 138,094 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยตลาดหลักยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง แคนาดา เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 469,547 ตัน ลดลงร้อยละ 9.9
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ยังคงส่งไปยังประเทศในแถบเอเชียและแอฟริกา เช่น ฟิลิปปินส์ เบนิน ญี่ปุ่น แองโกลา มาเลเซีย โมซัมบิก สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จีน เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม สมาคมคาดว่าในเดือนธันวาคมจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 1 ล้านตัน เนื่องจากในช่วงนี้ผู้ส่งออกยังคงมีสัญญาส่งมอบข้าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งสัญญาส่งมอบข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ได้แก่ หน่วยงาน COFCO ของจีน และหน่วยงาน NFA ของฟิลิปปินส์ ขณะที่สัญญาส่งมอบข้าวของเอกชนก็ยังคงมีต่อเนื่องเช่นกัน โดยเฉพาะตลาดในแถบแอฟริกา ประกอบกับตลาดที่นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิฤดูใหม่ก็ยังคงนำเข้าต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เช่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และจีน ซึ่งจะส่งผลให้ปีนี้ประเทศไทยจะสามารถส่งออกได้ถึง 11 ล้านตันตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
          สำหรับภาวะราคาข้าวในช่วงนี้ ราคาข้าวของไทยค่อนข้างทรงตัว โดยข้าวขาว 5% ที่สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยประกาศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ราคาอยู่ที่ 403 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ขณะที่ราคาข้าวของประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะเวียดนามมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ซึ่งเว็บไซต์ Oryza.com รายงานว่า ข้าวขาว 5% ของเวียดนาม ราคาอยู่ที่ 375-379 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาประมาณ 30 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอินเดียและปากีสถานราคาอยู่ที่
368-372 และ 353-357 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ตามลำดับ
          ที่มา : www.ryt9.com
 
          จีน
          สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีการนำเข้าข้าวจากสหรัฐท่ามกลางข้อพิพาทการค้าระหว่างสองชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้
          สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ความเคลื่อนไหวล่าสุดถือเป็นสัญญาณครั้งใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า จีนต้องการที่จะลดความตึงเครียดด้านการค้ากับสหรัฐ ขณะที่เศรษฐกิจของจีนเริ่มชะลอตัว อันเนื่องมาจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ซบเซาลง
          เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐ ได้ทำข้อตกลงร่วมกันว่าจะกระตุ้นการนำเข้าสินค้าการเกษตรและทรัพยากรด้านพลังงานจากสหรัฐ โดยเมื่อไม่นานมานี้ จีนได้เริ่มสั่งซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐแล้ว
          การที่จีนเปิดทางให้มีการนำเข้าข้าวจากสหรัฐนั้น ถือเป็นความคืบหน้าล่าสุดก่อนที่เจ้าหน้าที่จีนและสหรัฐจะเจรจาการค้าในเดือนมกราคมนี้ โดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า คณะผู้แทนสหรัฐจะเดินทางไปเยือนจีนในวันที่ 7 มกราคมนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะเจรจาการค้ากับเจ้าหน้าที่ของจีนซึ่งการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายจะเป็นการเจรจาแบบหน้าต่อหน้าครั้งแรก นับตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ตกลงที่จะสงบศึกการค้าชั่วคราวเป็นเวลา 90 วันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา
          ที่มา : www.ryt9.com


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต

ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.40 ล้านไร่ ผลผลิต 29.97 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.57 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.03 ล้านไร่ ผลผลิต 27.88 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.61 ร้อยละ 7.50 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ โดยเดือนมกราคม 2561  
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.76 ล้านตัน (ร้อยละ 15.89 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 20.08 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ โรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้นส่วนใหญ่หยุดดำเนินการผลิต ส่งผลให้หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) 
สัปดาห์นี้ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 218 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,996 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,051 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,601 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (14,716 บาทต่อตัน)
 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.349  ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.229 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.450 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.247 ล้านตัน ของเดือนพฤศจิกายน 2561 คิดเป็นร้อยละ 6.97  และร้อยละ 7.29 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา                                                                                            
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.25 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 17.10 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.88                    
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนมีนาคม 2562 ราคาอยู่ที่ระดับ 2,151 ริงกิตต่อตัน ( 519.44 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.7 เนื่องจากเพื่อกระตุ้นความต้องการผู้นำเข้าน้ำมันบริโภครายใหญ่ของโลกจึงลดภาษีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ ลดลงร้อยละ 40 จากเดิมร้อยละ 44 ในขณะที่การส่งออกชะลอตัวและค่าเงินริงกิตของมาเลเซียอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม คาดสภาวะเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวในปี 2562 และปริมาณน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,019.48 ดอลลาร์มาเลเซีย  (15.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,057.22 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.83  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 512.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.66 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 503.75 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.51 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.74        
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 29,066,524 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 2,804,258 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 2,344,511 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 459,747 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.33 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต   น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 96.48 กก.ต่อตันอ้อย
                               
สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
                   
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 889.95 เซนต์ (10.63 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 876.90 เซนต์ (10.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 309.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.07 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 305.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.51
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.79 เซนต์ (19.91 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.58 เซนต์ (19.92 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.76

 
 

 
ยางพารา
 
 

 
สับปะรด
 
 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.67 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.61
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.33 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 16.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.19
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.33 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 5.12
 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 839.33 ดอลลาร์สหรัฐ (27.09 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 833.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.15 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 745.33 ดอลลาร์สหรัฐ (24.06 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 739.80 ดอลลาร์สหรัฐ (23.93  บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 829.00 ดอลลาร์สหรัฐ (26.76 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 801.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.93 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.39 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 505.33 ดอลลาร์สหรัฐ (16.31 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 522.00 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.19 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.57 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 874.67 ดอลลาร์สหรัฐ (28.24 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 826.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.74 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.50 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
 ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
 ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 71.62 เซนต์(กิโลกรัมละ 51.34 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 72.77 เซนต์ (กิโลกรัมละ 52.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.24 บาท


 

 
ไหม

 


ปศุสัตว์
 
 


ตารางปศุสัตว์ ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี(ปศุสัตว์)
 

 
ประมง

 


ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี(ประมง)